วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

 ประวัติของกระบี่กระบอง
เริ่มต้นกำเนิดกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด ว่าเริ่มต้น กันตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ที่ได้เล่าเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยที่จะสั่งสอน ในทางทฤษฎีเลย ฉะนั้นศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้เสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทยเราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกัน เป็นเวลานาน
แล้วด้วยเหมือนกัน  ท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยัง เป็นเด็กและเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอในโอกาสที่ท่านได้เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านก็ได้ทดลองสอนนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2478 ต่อมาจึงได้กำหนดวิชา กระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปีพ.ศ.2479 นับแต่นั้นมา ได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ  บรรดาผู้ที่เล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษา ได้พยายามสอนวิชากระบี่กระบองไปเผยแพร่และเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป จึงนับได้ว่า ศิลปะชิ้นนี้นอกจากจะไม่สูญหายไปจากโลกแล้วคงจะเจริญก้าวหน้าหรือแสดงถึง ความเป็นเจ้าของในวิชาการแขนงนี้ได้ในอนาคต

สำหรับเครื่องกระบี่กระบองนั้นมี กระบี่ ดาบ ง้าว พลอง ดั้ง เขน โล่ และไม้สั้น ซึ่งจำลองมาจากอาวุธจริง ๆ ก็มี กระบี่ ดาบ ง้าวและพลองเท่านั้น เครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ นักกระบี่กระบองมักจะเรียกว่า "เครื่องไม้" แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 

1. เครื่องไม้รำ
2. เครื่องไม้ตี


เครื่องไม้รำ ได้แก่ เครื่องกระบี่กระบองซึ่งจำลองมาจากอาวุธจริง แต่ไม่ค่อยจะเหมือนทีเดียว เพราะมุ่งไปในแง่ความสวยงามมากกว่าอย่างอื่น เมื่อเครื่องไม้นี้ประสงค์จะเอาสวยงามเป็นใหญ่แล้วอาจจะแบบบางไม่แข็งแรง ผู้แสดงจึงต้องรำด้วยความระมัดระวังที่สุด ไม่ยอมให้กระทบกระแทกกับวัตถุอื่นใด ได้เลยเป็นอันขาดถ้าไม่สามารถสร้างเครื่องไม้รำสำหรับอาวุธบางชนิดขึ้นได้แล้วตามปกติ เขามักจะนำอาวุธอันแท้จริงมารำแทน ซึ่งก็นับว่างดงามและเหมาะสมดีไม่น้อย




เครื่องไม้ตี ได้แก่ เครื่องกระบี่กระบองซึ่งจำลองมาจากอาวุธจริง เป็นเพียงดูพอรู้ว่าเป็นอะไรเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการสร้าง คือ ต้องการให้เบา เหนียว และแข็งแรง ไม่หักงอง่าย เพื่อจะได้ใช้ตีกันอย่างทนทาน ไม่สิ้นเปลืองและไม่เกิดอันตราย 
ส่วนประกอบของกระบี่ ตัวกระบี่มักทำด้วยหวายเทศ เพราะมีน้ำหนักเบาและเหนียว หากหาไม่ได้มักจะใช้หวายโปร่งแทน ยาวประมาณ 1 เมตร โกร่งกระบี่มักทำด้วยหนังสัตว์มีไว้ป้องกันมือที่จับ




ประโยชน์ของการเล่นกระบี่กระบอง 
1. สามารถใช้ในการป้องกันตัวได้เมื่อยามคับขัน
2. เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและคุณลักษณะทางด้านจิตใจ
1.1 มีความแข็งแรง มีความทนทาน มีความคล่องแคล่วว่องไว
1.2 ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี
1.3 มีจิตใจกล้าหาญ อดทน หนักแน่น
1.4 มีอารมณ์สุขุมเยือกเย็น และเชื่อมั่นในตนเอง
1.5 มีการตัดสินใจที่ดี
3. เป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
4. เป็นการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปะประจำชาติ 


ครื่องดนตรีประกอบการเล่นกระบี่กระบอง


o ปี่ชวา
o กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง)
o กลองแขกตัวเมีย (เสียงต่ำ)
o ฉิ่งจับจังหวะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น